Author Archives: nooornchurue

มุสลิมกับเดือนรอมฎอน

มุสลิมกับเดือนรอมฎอน

ขอต้อนรับ นับหนึ่ง มาถึงก่อน

รอมฎอน ย้อนมา หาอีกหน

ถือศีลอด กฎศาสนา แบบสากล

เราเริ่มต้น ค้นคว้า หาความดี

เป็นมุสลิม ยิ้มรับ กับเดือนบวช

ผลยิ่งยวด ตรวจตรา อย่าหลีกหนี

หยุดดื่มกิน ลิ้นงด อดทันที

หลักการมี ชี้ชัด ผู้ศรัทธา

ในหนึ่งปี มีหนึ่งเดือน เพื่อเตือนจิต

ใช้ชีวิต ชนิดดี มีคุณค่า

อัลลอฮ์ใช้ ให้ทำ ต้องนำพา

ปูวาซา มาเคร่งครัด วัดผลงาน

เดือนบวชเรียน เพียรรู้ สู่กุศล

ประพฤติตน เป็นคนดี เพื่มอีหม่าม

หยุดนินทา เลิกด่าทอ ก่อระราน

ทำบุญทาน การบริจาค ดีมากมาย

ไปละหมาด “ตะรอเวียะห์” ที่มัสยิด

จงตั้งจิต คิดสำรวม ร่วมขวนขวาย

ทำสุนัต และฟัรคู เคียงคู่กาย

ทั้งหญิงชาย ไม่สายเกิน เชิญตักตุน

รอมฎอน ขอต้อนรับ นับภาคผล

เดือนกุศล ล้นหลาม ความอบอุ่น

ศรัทธาชน “อิสลาม” งามละมุน

เดือนทำบุญ ร่วมจุนเจือ เผื่อแผ่กัน

หมายเหตุ : รอมฎอน คือ เดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม กำหนดให้เป็นเดือนถือศีลอด หรือเดือนบวช

มุสลิม คือ ผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนผู้หญิงเรียกว่า มุสลิมะห์

อัลลอฮ์ หรืออัลเลาะห์ คือ ชื่อของพระเจ้าในศาสนาอิสลาม

ปูวาซา คือ ภาษามลายู หมายถึงเดือนศีลอด (มุสลิมภาคกลางเรียก เดือนบวช)

อีหม่าม คือ ผู้ที่ศรัทธาเชื่อมั่นในพระเจ้า (คนละความหมายกับอิหม่าม)

ละหมาด คือ การเข้าเฝ้าพระเจ้าในรูปแบบที่ศาสนากำหนด

ตะรอเวียะห์ คือ ชื่อของการละหมาดในเดือนรอมฎอน

มัสยิด คือ สถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ

สุนัต คือ การปฏิบัติศาสนกิจแบบอาสา

ฟัรคู คือ การปฏิบัติศาสนากิจที่จำเป็นต้องทำ

ที่มา : ฮัจยี สมศักดื์ บุญมาเลิศ,  ขอต้อนรับเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ 1434,  คู่สร้างคู่สม ปีที่ 34,  ฉบับที่ 805, กรกฎาคม 2556: 17.

Categories: มุสลิมกับเดือนรอมฎอน | ใส่ความเห็น

บทเพลงคริสต์มาส

 

38706Christmas026

 

ประเพณีปฏิบัติในเทศกาลคริสต์มาสในประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศติมอร์ตะวันออก ล้วนเป็นประเทศที่ได้นำประเพณีคริสต์มาสมาผสมผสานกับประเพณีของตน ซึ่งเทศกาลคริสต์มาสถือว่าเป็นสื่อกลางสร้างความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และความเป็นมิตรระหว่างสมาชิกของครอบครัวและชุมชน

ประเพณีและวัฒนธรรมของชนชาติใดก็ย่อมเป็นกระจกเงาส่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและลักษณะความคิดของชนชาตินั้นๆ เทศกาลคริสต์มาสเป็นประเพณีที่มีความหมายยิ่งใหญ่ในหัวใจของชาวคริสต์ เป็นประเพณีที่กระทำสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

และเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาลคริสต์มาส จึงได้มีการรวบรวมตัวอย่างบทเพลงคริสต์มาสมานำเสนอเพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเพณีและวัฒนธรรมมากยิ่งขี้นด้วย

WE WISH YOU A MERRY CHRISTMAS

We wish you a Merry Christmas

We wish you a Merry Christmas

We wish you a Merry Christmas,

And a Happy New Year

Good tidings to you and you are

Good tidings for Christmas

And a Happy New Year

ขออวยพรให้ท่านมีคริสต์มาสแสนสุขสันต์

ขออวยพรให้ท่านมีคริสต์มาสแสนสุขสันต์

ขออวยพรให้ท่านมีคริสต์มาสแสนสุขสันต์

และปีใหม่แสนสุขสม

ขอข่าวดีตามติดท่านไปทุกแห่งหน

ไร้กังวลมีแต่คริสต์มาสแสนสุขสันต์

มีข่าวดีทุกคริสต์มาสทุกคราไป

อีกปีใหม่สุขสันต์นิรันดร

เพลง WE WISH YOU A MERRY CHRISTMAS

1863306951

WHITE CHRISTMAS

I’m dreaming of a white Christmas

Just like the ones I used to know

Where the treetops glisten

and children listen to hear sleigh bells in the snow

I”m dreaming of a white Christmas

With every Christmas card I write

May your days be merry and bright

And may all your Christmas days be white

ฉันกำลังฝันถึงคริสต์มาสสีขาว

ที่เหมือนกับคริสต์มาสซึ่งฉันเคยรู้จัก

เมื่อคริสต์มาสคราวนั้น ยอดไม้เหล่านั้นเคยส่งแสงแวววาว

และเด็กๆต่างเงี่ยหูฟังเสียงกระดิ่ง

ของเลื่อนที่ขับเคลื่อนมาในหิมะ

ฉันกำลังฝันถึงคริสต์มาสสีขาว

ในบัตรคริสต์มาสทุกแผ่นที่ฉันเขียน

ฉันขอให้ชีวิตของคุณรื่นเริงและสดใส

และขอให้วันคริสต์มาสทุกวันของคุณจงเป็นสีขาว

1863306951

JOY  TO  THE  WORLD

Joy to the world, the Lord is come

 Let earth receive her King

 Let every heart prepare Him room

 And heave’n and nature sing

 And heave’n and nature sing

 And heave’n, and heave’n and nature sing

 Joy to the world, the Savior reigns

 Let men their songs employ

 While fields and floods, rocks, hills and plains

Repeat the sounding joy, Repeat the sounding joy

 Repeat, oh, repeat the sounding joy

ขอความปีติจงบังเกิดแก่โลก

พระผู้เป็นเจ้าเสด็จแล้ว

ขอโลกจงต้อนรับพระราชา

ของหัวใจทุกดวงจงเตรียมที่ไว้ให้พระองค์ทรงสถิตเถิด

และสรวงสวรรค์และธรรมชาติจะขับร้องเพลง

และสรวงสวรรค์และธรรมชาติจะขับร้องเพลง

และสรวงสวรรค์….สรวงสวรรค์และธรรมชาติจะขับร้องเพลง

ขอความปีติจงบังเกิดแก่โลก

ขอพระเยซูเจ้าทรงคุ้มครองโลก

ขอผู้คนจงขับร้องเพลงของพวกเรา

ขณะที่ท้องทุ่ง สายน้ำ หินผา ขุนเขา และแผ่นดิน

ร้องซ้ำเสียงแห่งความปีตินั้น ร้องซ้ำเสียงแห่งความปีตินั้น

ร้องซ้ำ….ร้องซ้ำเสียงแห่งความปีตินั้น

emoticon-heartemoticon-heartemoticon-heartemoticon-heartemoticon-heartemoticon-heartemoticon-heart

Categories: บทเพลงคริสต์มาส | ใส่ความเห็น

ภาพรวมของวัฒนธรรมร่วม

วัฒนธรรมร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัฒนธรรมร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัฒนธรรร่วมหลายอย่างมานานหลายพันปีแล้ว เพราะอยู่เขตมรสุมเดียกันทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ จึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกันอย่างแยกไม่ได้

ซึ่งวัฒนธรรมร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งกว้างๆเป็น 2 ระยะ คือ ก่อนอินเดียและหลังอินเดีย

ก่อนรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย จนถึงราว พ.ศ. 100

1350619088

– อยู่เรือนเสาสูงประเด็นของเรือนเสาสูงอยู่ที่ “ใต้ถุน” ไม่เกี่ยวกับเรื่องหนีน้ำ เพราะใช้ใต้ถุนสำหรับวิถีชีวิตของคนเรือน เอาไว้นอนพักผ่อนตอนกลางวัน หุงข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เลี้ยงหมาอยู่ที่ใต้ถุน เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ทอผ้า แต่การหนีน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้

– ผู้หญิงเป็นหัวหน้าในพิธีกรรม เช่น พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เช่น ลาวมีผีฟ้า เขมรมีผีมด มอญมีผีเม็ง ผีพวกนี้ลงผู้หญิง ผู้หญิงจึงเป็นผู้เข้าทรง
ในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวลาแต่งงานผู้ชายต้องไปอยู่บ้านผู้หญิง เขาถึงเรียกว่า “เจ้าบ่าว” บ่าว แปลว่า “ขี้ข้า” สาวแปลว่านาย,ผู้เป็นใหญ่

Nora

– การเซ่นไหว้สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ คือ ไหว้ “กบ” โดยคนดึกดำบรรพ์ถือว่ากบมากับน้ำ เป็นผู้บันดาลให้เกิดฝนจึงเคารพกบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กลองมโหระทึก มีกบอยู่บนหน้ากลอง ใช้ตีเพื่อขอฝน เรียกว่า วัฒนธรรมดองซอน เพราะพบครั้งแรกที่ดองซอน ประเทศเวียดนาม , จีน

กบเป็นสัญลักษณ์ของน้ำนี่เอง กบจึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จึงมีภาพเขียนสีที่พวกจ้วงเขียนเป็นรูปคนทำท่าเป็นกบ คือถ่างขาเป็นรูป ฉาก แล้วส่งอิทธิพลมาถึงภาคอีสานภาคกลางของไทย อย่างที่กาญจนบุรี คือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการบูชากบ ในผ้าทอก็จะมีลายกบ คือทำท่ากางแขนกางขาเหมือนกบที่ถูกแผ่สองสลึงจะถูกบูชายัญ

นอกจากนี้การทำท่ากบยังพบเห็นได้จากท่ารำละคร ท่ารำโนราห์ ท่าโขน ท่ายักษ์กับท่าลิง คือ มีการกางแขนกางขาย่อเข่าเป็นสี่เหลี่ยม แบะขาย่อเข่าอย่างกบ

– การทำศพ เมื่อมีคนตายจะเก็บศพไว้หลายวันให้เนื้อหนังเน่าเปื่อยย่อยสลายเหลือแต่กระดูกแล้วจึงทำพิธีอีกครั้ง กระดูกที่เก็บจะอยู่ในภาชนะพิเศษ ทำด้วยดินเผาเรียก หม้อดินเผา หรือ แคปซูลและหิน มีตัวอย่างให้เห็นคือ ไหหินในลาวหีบหินบนปราสาทนครวัดจะมีหีบหิน (หีบศพ) กับในหมู่เกาะทั้งหลายก็จะมีหีบหินเช่นกัน

– เครื่องดนตรี คือ ฆ้อง เชื่อว่าเสียงที่ตีเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์ มนุษย์ค้นพบเมื่ออย่างน้อย 2,000-3,000 ปี เมื่อเสียงมันกังวาน การได้ยินเสียงที่กังวาน ครั้งแรกมนุษย์แทบจะขาดใจตาย กลัวมาก เป็นเสียงที่สื่อสารกับสวรรค์ จึงศักดิ์สิทธิ์สืบมาจนปัจจุบัน ในอินโดนีเซียก็มีใหญ่กว่าเมืองไทยด้วย ฉะนั้นเสียงฆ้องจึงเป็นเสียงที่สำคัญที่สุดในวงปี่พาทย์

ภายหลังการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย จนถึงราว พ.ศ. 100

พ่อค้า

คนพื้นเมืองรับวัฒนธรรมจากอินเดียมาประสมประสานวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่ทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
รับศาสนาพุทธ พราหมณ์ ศาสนาอิสลาม และรับอิทธิพลจากกประเทศเจ้าอาณานิคม

1. หลัง พ.ศ. 1000 รับศาสนาพุทธ พราหมณ์ ทำให้มีการรับประเพณีพิธีกรรมต่างๆพร้อมกันด้วย ดังนี้
– ศาสนา รับศาศาสนาพุทธ พราหมณ์ มาเคลือบศาสนาผีที่มีมาแต่เดิม โดยรักษาแก่นของผีไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ศาลพระภูมิ ทำขวัญนาค ไหว้ครู ครอบครู
– ชายเป็นใหญ่ ตั้งแต่นี้ไปอุษาคเนย์ก็ยกย่องชายเป็นใหญ่ตามคติอินเดีย แต่แม่หญิงไม่ได้หมดความสำคัญ คือ ยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลัง
– ตัวอักษร รับอักษรปัลลวะจากอินเดียใต้ หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเป็นอักษรของตน เช่น อักษรมอญ อักษรขอม อักษรกวิ (ใช้ในดินแดนทางใต้ของไทยถึงมาเลเซียและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
– กราบไหว้ รับทั้งประเพณีกราบและไหว้จากอินเดียพร้อมการรับศาสนาพุทธ พราหมณ์
– บวชนาค รับจากอินเดีย แต่ผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ไทยเรียกบวชนาค
– สงกรานต์ เป็นพิธีพราหมณ์เพื่อขึ้นราศีใหม่ จากราศีมีนเป็ฯราศสีเมษปีละครั้ง เริ่มในราชสำนักก่อน แล้วแพร่ขยายสู่ราษฎร มีในรัฐทุกแห่งของอุษาคเนย์ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์
– วรรณคดี รับมหากาพย์ ทั้งรเรื่องามายณะและมหาภารตะ แต่ยกย่องรามายณะมากกว่า โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู ซึ่งพ่อค้าชาวอินเดียได้นำเข้ามาเผยแพร่พร้อมกับการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศเป็นวรรณคดีประจำชาติ

ไทย   ชื่อเรื่องว่า   รามเกียรติ์
ลาว    ชื่อเรื่องว่า   พะลักพะลาม
กัมพูชา    ชื่อเรื่องว่า    เรียมเกร์

25460

2. หลัง พ.ศ. 1800   รับศาสนาอิสลาม ราว พ.ศ. 1800 แต่แพร่หลายเฉพาะหมู่เกาะ กับดินแดนชายทะเลบางแห่งเท่านั้น เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย

3. หลัง พ.ศ. 2300   รับอาณานิคม เมื่อ พ.ศ. 2300 ประเทศมักอ้างว่าไม่ตกเป็นอาณานิคมเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้วอยู่ในอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการ เพราะไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลกยุคอาณานิคมเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน

(ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. วัฒนธรรมร่วมรากวัฒนธรรมเริ่มแรกในอาเซียน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556. แหล่งสืบค้น http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1756:2013-06-20-02-01-12&catid=200:2013-06-20-02-00-16&Itemid=54)

Categories: ภาพรวมของวัฒนธรรมร่วม | ใส่ความเห็น

อาหารการกิน

วัฒนธรรมร่วมด้านอาหาร

วัฒนธรรมร่วมด้านอาหาร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนการรับอิทธิพลจากอินเดีย จนถึงราว พ.ศ. 100

ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว

– กินข้าวเหนียวเป็นหลักตั้งแต่ 5,000 ปีเป็นอย่างน้อย ตั้งแต่สิบสองปันนาจนถึงนครศรีธรรมราช โดยพันธุ์ข้าวเหนียวเป็นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนข้าวเจ้าเป็นของต่างประเทศ แม้ว่าเรื่องนี้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันแต่คุณสุจิตต์บอกว่า เมื่อดูหลักฐานจากการเข้ามาของพุทธศาสนาจากอินเดีย ครั้งนั้นข้าวเจ้าเข้ามาด้วย และทำให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยข้าวเจ้า จึงเรียกว่า ข้าว “เจ้า” เพื่อให้ต่างจากข้าแผ่นดิน จะเห็นว่ามีนาหลวงไว้ปลูกข้าวเจ้า เราจะพบนา หลวงอยู่แถวเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ขณะเดียวกันเมื่อประชาชนเปลี่ยนข้าวเจ้าก็มีนาหลวงปลูกข้าวเหนียวเอาไว้ไหว้ผี

1370498729-kapi-o น้ำปลา

– กับข้าว “เน่าแล้วอร่อย” เช่น ปลาแดก ปลาร้า น้ำบูดู เน่าแล้วอร่อยหมด ไม่มีปลาทำให้เน่า ก็เอาถั่วมาทำให้เน่า ฉะนั้นภาคเหนือมีถั่วเน่าอร่อย เพราะมันเป็นวัฒนธรรมที่พบเฉพาะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อื่นอาจจะมีบ้าง แต่ไม่เป็นกระแสหลักอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงกะปิน้ำปลาด้วย

เริ่มต้นที่ “น้ำปลา” ที่เป็นส่วนผสมของปลา เกลือ และน้ำเกลือเข้มข้น ผ่านการหมักบ่มนานนับปี ก็จะได้หัวน้ำปลาอย่างดี จากนั้นก็นำกากปลาที่เหลือมาผสมกับน้ำเกลือเข้มข้นแล้วหมัก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะได้น้ำปลาเกรดสอง, สาม, สี่,… ไปจนกระทั่งกากปลาย่อยสลายไปหมด น้ำปลานั้นเป็นสิ่งที่ช่วยชูรสชาติให้จัดจ้านกลมกล่อมขึ้น จากที่เป็นอาหารจืดๆ ใส่น้ำปลาลงไปก็เพิ่มความอร่อย อย่างที่ประเทศไทย เรียกว่า น้ำปลา เพื่อนบ้างเราก็กินน้ำปลาแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา อย่างเช่น เวียดนาม เรียกว่า “Nuoc Mam” ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “Patis” ลาว เรียกว่า “น้ำปา” พม่า เรียกว่า “Ngan Bya Yay”

ส่วน “ปลาร้า” นั้นก็ไม่ได้มีเพียงเฉพาะที่ภาคอีสานของไทย แต่เกิดขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก จากการที่ต้องเก็บถนอมปลาเอาไว้กินในยามขาดแคลน และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ปลา เกลือ และข้าว ประเทศไทย เรียกว่า “ปลาร้า” ลาว เรียกว่า “ปลาแดก” ปลาร้าเขมร คือ “ปราฮ็อก” ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “บากุง” เวียดนาม เรียกว่า “มาม” มาเลเซีย เรียกว่า “เปกาซัม” อินโดนีเซีย เรียกว่า “บากาแซ็ง” พม่า เรียกว่า “งาปิ๊”

จะเห็นว่ามีวัฒนธรรมในการกินที่คล้ายคลึงกัน เพราะมีวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใกล้เคียงกัน นั้นก็คือ ปลา เกลือ และข้าว ซึ่งแต่ละชาติจะประดิดประดอยออกมาได้รสชาติ หรือหน้าตาก็ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั่นเอง

ข้าวผัก

– พืชผักสมุนไพร พืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผสมผสานปรุงรสกับส่วนผสมอื่นๆจนได้เมนูอาหารแสนอร่อยและเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย ซึ่งส่วนผสมสำคัญที่ขาดไม่ได้คือพืชผักที่จัดว่าเป็นสมุนไพร เช่น พริกขี้หนู รสชาติเผ็ดร้อน ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยให้กระเพาะอาหารดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ส่วนขิง ข่า ที่นอกจากเพิ่มรสร้อนแรงและกลิ่นหอมให้อาหาร ยังมีสรรพคุณในการขับลม แก้ท้องอืด และใบกะเพรา ก็ให้กลิ่นหอมฉุน มีสรรพคุณคือช่วยขับลม ท้องอืด เป็นต้น

และวัฒนธรรมร่วมด้านอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะดังเช่นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการติดต่อทางทะเลกับทั้งชาติตะวันตก และชาติตะวันออก เพื่อเชื่อมโยงทางการค้า ศาสนา จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งวัตถุดิบ และวิธีการ จากนั้นจึงได้คิดปรับปรุง ผสมผสานให้เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยชนชาติที่มีบทบาทและความสำคัญต่อการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งก็มีทั้งชาติตะวันตกและชาติตะวันออก อาทิ ชาติอาหรับเปอร์เซียที่ได้นำทั้งอบเชย ยี่หร่า จันทน์เทศ เข้ามา เป็นต้น, ชาติโปรตุเกสนำพริกแห้งเม็ดยาวเข้ามา, ส่วนน้ำปลานั้นได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่น, และอาหารประเภทผัด การรับประทานเนื้อหมูก็ได้รับอิทธิพลจากจีน

(ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. วัฒนธรรมร่วมรากวัฒนธรรมเริ่มแรกในอาเซียน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556. แหล่งสืบค้น http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1756:2013-06-20-02-01-12&catid=200:2013-06-20-02-00-16&Itemid=54)

Categories: วัฒนธรรมด้านอาหาร | ใส่ความเห็น

ประเพณีการถือศีลอด

ประเพณีการถือศีลอดของชาวมุสลิม

 

การถือศีลอดเป็นพิธีกรรมหนึ่งซึ่งมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ ความเป็นมานั้นพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติเรื่องของการถือศีลอด ในปีที่สองของการที่ท่านศาสดาได้อพยพจากเมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองมาดินะ ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรัสไว้ในคำภีร์อัลกุรอาน และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนเลยว่าการถือศีลอดนั้นจะถูกกำหนดขึ้นในเดือนกรกฏาคม เป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลามและก็กำหนดการ ถือศีลอดนั้นมีกำหนด 1 เดือน ประมาณ 28 – 30 วัน เพราะว่าเป็นการนับถือวันเดือนตามจันทรคติ  การถือศีลอดเราจะนับด้วยการดูเดือนเรียกว่าดูเดือนก็คือการดูดวงจันทร์ซึ่งเป็นเดือนเสี้ยว ถ้าหากว่าดวงจันทร์ในเดือนที่แปดตามจันทรคติอิสลามเรียกเดือนซะบาน ถ้าเห็นดวงจันทร์วันรุ่งขึ้นก็เป็นการถือศีลอด แต่ถ้าไม่มีคนเห็นดวงจันทร์ก็ให้นับเดือนซะบาน 30 วัน แล้ววันถัดไปก็เป็นวันที่ 1 ของเดือนกรกฏาคม กำหนดจากการดูดวงจันทร์

15

หลักปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่จะต้องทำการถือศีลอด

– หลักการถือศีลอดประการที่หนึ่งคือ จะต้องเจตนาที่จะถือศีลอดเพื่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อเจตนาจะถือศีลอดก็จะต้องงดเว้นจาก การกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันในช่วงที่ทำการถือศีลอด คือเราเริ่มนับตั้งแต่แสงอรุณขึ้นไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกในช่วงนี้คือการงดเว้นเรื่องของการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ งดเว้นการพูดเท็จ พูดเรื่องไร้สาระ การด่าทอ ทะเลาะวิวาท การพูดจาสบประมาณคนอื่นก็งดเว้นด้วยเหมือนกับวจีกรรม คือเรื่องของความคิดแล้วก็พูดออกมาที่ให้ผลในทางลบ

– กิจกรรมที่เรียกว่า “ซากาตคริสเลาะ” ก็คือการบริจาคอาหารซึ่งในแต่ละประเทศก็จะไม่เหมือนกันในบางประเทศอาจจะเป็นข้าวบาเล่ ในประเทศไทยคือข้าวที่ใช้รับประทาน ในซาอุอาจจะเป็นอินทผลัม บริจาคได้กับคนยากจน ในขณะเดียวกันคนยากคนจนเค้าก็จะได้รับการช่วยเหลือเพราะคนที่ถือศีลอด แล้วจะรู้ว่าความหิวมันเป็นอย่างนี้เองก็จะเกิดความรู้สึกสงสารพี่น้องร่วมศาสนาว่าคนที่ไม่มีกินเป็นอย่างไร ตัวนี้ก็จะเป็นตัวช่วยให้รักกัน เห็นใจกัน
– “วันอีดิ๊ลฟิตรี” นั้นก็คือการเฉลิมฉลองหลังจากที่ถือศีลอดมาครบ 1 เดือน 29 วัน หรือ 30 วัน แล้ววันถัดมาเรียกว่าฮารีรายอ ก็จะฉลองกันด้วยการสวดมนต์เรียกว่าการละหมาดอีดิ๊ลฟิตรี หลังจากนั้นก็จะมีการเยี่ยมญาติ การบริจาคสิ่งของให้กับคนยากจนรวมทั้งการให้กำลังใจกับเด็ก ๆ เช่น แจกสตางค์

หลักการถือศีลอดมีอยู่ 4 หลักการ
1.การมีพลังและความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยว เราถือยอมรับว่าอดอาหารนะหิว อดน้ำก็กระหายน้ำแต่ด้วยพลังและความตั้งใจ อันเด็ดเดี่ยวก็อยู่ได้
2.เป็นการฝึกระเบียบว่าถ้าถือศีลอดไม่ใช่แค่อดน้ำอดอาหารต้องฝึกระเบียบกับตัวเองด้วยไม่พูดปดไม่ทะเลาะวิวาท
3.เป็นการสร้างความปองดองรักใคร่เพราะเมื่อถือศีลอดแล้วจะรู้แล้วว่าคนที่ยากจนคนที่หิวโหยเป็นอย่างไร
4.เกิดความเมตตาเห็นอกเห็นใจก็อยากที่จะช่วยเหลือคนยากจน อยากที่จะช่วยเหลือคนที่ไม่มีอาหารกิน

การถือศีลอดเป็นบัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญญัติกับมุสลิม ทุกคนเหมือนกันทั่วทั้งโลก เมื่อคนที่ถือศีลอดนั้น ก็คือการมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อคนมีความยำเกรงแล้วสิ่งที่จะเกิดตามมาคือมันมีผลในด้านสุขภาพร่างกายกับตัวของคนๆ นั้นด้วย ในประการต่อมาเมื่อถือศีลอดแล้วทำให้เรารู้ความสุขเป็นอย่างไร
ความกระหายเป็นอย่างไร ก็จะทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจคนยากคนจน ในการถือศีลอดศาสนายังให้บริจาคสิ่งของซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของแต่ละชาติให้กับคนยากคนจนด้วย นั่นจะทำให้เกิดความเมตตากัน เกิดความปรองดองรักใคร่กัน

14การยกเว้นสำหรับบางกลุ่มบุคคล

1.คนชราภาพไม่ต้องถือศีลอด
2.สตรีที่ตั้งครรภ์ สตรีที่มีประจำเดือน
3.เด็ก
นอกจากนี้คนที่เดินทางไกลศาสนาก็อนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอดแต่ทั้งสตรีที่ตั้งครรภ์ สตรีที่มีประจำเดือนและคนที่เดินทางไกลเมื่อพ้นจากการถือศีลอดแล้วก็ทำการถือชดใช้ในเดือนถัดๆ ไป

ผลประโยชน์ที่สำคัญและสูงสุดของการถือศีลอด คือ ทำให้จิตใจของมนุษย์มีความเมตตา มีความยำเกรง ทำให้จิตใจสงบมากขึ้น และทำให้สัญชาติญาณความปรารถนาอันรุนแรง และความต้องการต่างๆของพวกเขาเบาบางลงได้ ผู้ถือศีลอดได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังแห่งความเชื่อ พลังแห่งความรัก พลังแห่งศรัทธาที่พวกเขามีต่อพระบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นการถือศีลอดไม่ใช่การฝืน ไม่ใช่การบังคับ ไม่ใช่ประเพณีวัฒนธรรม แต่เป็นการน้อมรับพระบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้าโดยดุษดี

13

16

Categories: ประเพณีการถือศีลอด | ใส่ความเห็น

เทศกาลวันคริสต์มาส

คริสต์มาส (Christmas หรือ X’Mas)

2

 

คริสต์มาส (Christmas หรือ X’Mas) คือเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน

คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า “บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า”                   คำว่า ” Christes Maesse” พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

องค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาส

คำอวยพร สำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ “เพลง” ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ

ถ

ซานตาคลอส นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ซานตาครอสจริงๆแล้ว แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย นักบุญนิโคลาส เป็นนักบุญ ที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็อยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น

4

ต้นคริสต์มาส ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มา สจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของ พระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น


เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles

เพลงคริสต์มาส เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งผู้แต่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night

3

การทำมิสซาเที่ยงคืน เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)ในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาส

เทียนและพวงมาลัย ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบ เป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุก อาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อน คริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยม และแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมา มีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรง กลาง 1 เล่มไป แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่าน ไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็น สัญลักษณ์ที่คนสมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างครบบริบูรณ์

Categories: เทศกาลวันคริสต์มาส | ใส่ความเห็น

การเข้ามาของศาสนาคริสต์

การเข้ามาของศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

คริสตศาสนาได้เข้ามาในยุคจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจที่ชอบล่าเมืองขึ้น อันเป็นการแผ่ขยายดินแดนและแสวงหาทรัพยากรให้กับประเทศของตน
ในคริสศตวรรษที่ 16 ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญต่อการค้าโลกมากขึ้น เนื่องจากมีสินค้าที่ยุโรปต้องการ อีกทั้งยังมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างจีนกับอินเดีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นสำคัญ จึงเป็นที่หมายปองของชาติตะวันที่เข้ามาแสดงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่จะเป็น บาทหลวง มิชชันนารี พ่อค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อทำการค้าและแผ่ศาสนาคริสต์

โดยมีแรงจูงใจต่างๆ ดังนี้
– แรงจูงใจทางด้านการค้า เพื่อแสวงผลประโยชน์ทางการค้า เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุดมไปด้วยเครื่องเทศ พริกไทย และสินค้าจากป่า ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาติตะวันตกมีความต้องการสูง
– แรงจูงใจทางด้านการค้า เพื่อต้องการคุมเส้นทางทางการค้าจากตะวันตกสู่ตะวันออกโดยแข่งกับพวกมุสลิม โดยเน้นเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างจีนและอินเดีย ก็ยังมีแรงจูงใจในเรื่องการเผยแพร่ศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมือง
– แรงจูงใจทางด้านศาสนา เพื่อต้องการเผยแพร่ศาสนาไปในดินแดนไกล ๆ ความคู่ไปกับการทำการค้า เป็นนัยยะสำคัญเพื่อให้ปกครองคนพื้นเมืองให้ง่ายขึ้น แต่ก็มีปัญหาการต่อต้านมากมายจากชนพื้นเมือง
– แรงจูงใจทางด้านศาสนา สันตะปาปาที่กรุงโรม ทรงมีนโยบายสนับสนุนกษัตริย์ของประเทศในยุโรป ซึ่งนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะโปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศส ให้ส่งมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในต่างแดน
– แรงจูงใจในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตนเป็นชาติที่เจริญแล้ว เป็นหน้าที่หลักของคนผิวขาวที่จะนำพาความเจริญสู่คนพื้นเมือง
– อีกทั้งในคริสศตวรรษที่ ๑๘ ชาติตะวันตกมีความตื่นตัวในการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงมีความต้องการวัตถุดิบ และตลาดในการระบายสินค้าเพื่อตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการที่สูงขึ้น

ในบรรดานักล่าอาณานิคมรุ่นแรก ๆ ที่เดินทางเข้ามาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พวกโปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ หรือพวกดั๊ช โดยเฉพาะพวกโปรตุเกสและสเปนนั้น นอกจากจะหาเมืองขึ้นแล้วยังนำเอาคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้ฟิลิปปินส์ และมาเก๊า ฯลฯ ยอมรับ นับถือคริสตศาสนา ต่อมาพวกฝรั่งเศสได้เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เมืองขึ้น เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และได้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพวกโปรตุเกสและสเปน คือ ล่าเมืองขึ้นด้วยและเผยแพร่ศาสนาด้วย แต่ไม่ใคร่ประสบผลสำเร็จมากนัก ทำให้อิทธิพลของคริสตศาสนาในประเทศเหล่านี้มีน้อย ส่วนประเทศไทยนั้นแม้ได้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น แต่ต้องใช้อิสระเสรีแก่พวกตะวันตกในการเผยแพร่ศาสนาได้ทำให้ความรุนแรงทางการเมืองลดน้อยลง
โดยประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์จนเป็นศาสนาประจำชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีด้วยกัน 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ และติมอร์ตะวันออกที่ล้วนแต่ตกเป็นประเทศอาณานิคมของชาติตะวันตกมาอย่างยาวนาน ซึ่งในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุด จากการนำศาสนาคริสต์มาเผยแผ่โดยชาวสเปน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 และด้วยการวางรากฐานของสเปน ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ฝังรากลึกในสังคมกระทั่งปัจจุบัน

87

88

Categories: การเข้ามาของศาสนาคริสต์ | ใส่ความเห็น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

089

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน จึงเกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ จนทำให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะจึงกราบทูลขออุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมา พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอื่น ๆ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก 4 องค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากพระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดแล้ว พระองค์ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ซึ่งทำให้พระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น

ต่อจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะและพวกอีก 54 ท่าน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ในครั้งนั้นจึงมีพระอรหันต์รวมทั้งพระองค์ด้วยทั้งสิ้น 61 พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงพระดำริให้พระสาวกออกประกาศศาสนา จนกระทั่งย่างเข้าพรรษาที่ 45 พระชนมายุ 80 ปี ก็ทรงประชวรและทรงดับขันธปรินิพพานหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว เหล่าสาวกของพระพุทธเจ้าก็ได้สืบทอดพระพุทธศาสนาติดต่อกันไม่ขาดสาย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน แม้บางครั้งพระพุทธศาสนาจะได้รับความกระทบกระเทือนมัวหมอง มีภัยทั้งภายนอกและภายใน เหล่าสาวกก็ได้ช่วยกันชำระสะสางให้บริสุทธิ์ถูกต้องเป็นแบบแผนเดียวกัน การกระทำเช่นนี้ เรียกว่า “สังคายนาพระธรรมวินัย” ซึ่งกระทำกัน 3 ครั้งในช่วงสามศตวรรษ ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนาก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นเต็มที่จนมีเดียรถีร์เข้ามาปลอมบวชปะปนกับพระสงฆ์หากินอยู่ทั่วไป เป็นเหตุให้พระธรรมวินัยเปลี่ยนไปมาก พระโมคคัลลีบุตรติสเถระจึงรวบรวมพระอรหันต์ทำสังคายนาขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 235 เมื่อทำสังคายนาเสร็จสิ้นพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลีบุตรติสเถระก็จัดพระสมณทูตเป็น 9 สายส่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาดังนี้
สายที่ 1 คณะพระมัชณันติกเถระ ไปรัฐกัศมี-คันธาระ (อัฟกานิสถาน)
สายที่ 2 คณะพระมหาเทวเถระ ไปสหมณฑล (แคว้นไมซอร์)
สายที่ 3 คณะพระรักขิตเถระ ไปวนาสี ( ตอนเหนือเมืองบอมเบย์)
สายที่ 4 คณะพระธัมมรักขิตเถระ ไปอปรันตประเทศ
สายที่ 5 คณะพระมหาธัมมรักขิตเถระ ไปมหารัฏฐะต้นแม่น้ำโคธาวารี
สายที่ 6 คณะพระมหารักขิตตเถระ ไปโยนกประเทศ (ประเทศอิหร่านหรือที่กรีกปกครอง)
สายที่ 7 คณะพระมัชฌิมเถระ ไปเนปาล (เชิงขาหิมาลัย)
สายที่ 8 คณะพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ไปสุวรรณภูมิ
สายที่ 9 คณะพระมหินทเถระ ไปศรีลังกา

โดยสายที่ ๘ พระโสณะและพระอุตระเถระได้เดินทางไปยังสุวรรณภูมิประเทศหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน (ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและอินโดนีเซีย) ทำให้ไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธจากอินเดียมาตั้งแต่สมัยนั้น หลังจากสมัยพุทธกาล พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาระหว่าง พ.ศ. ๑๓๐๐ – ๑๗๐๐ คณะสงฆ์อ่อนแอลง รวมทั้งถูกศาสนาอื่นต่อต้านและบีบคั้น กอปรกับถูกชนชาติมุสลิมเข้ารุกรานและทำลายวัดวาอารามตลอดจนพระสงฆ์ ในที่สุดในช่วงปี พ.ศ. ๑๗๐๐ พุทธศาสนาจึงเสื่อมลงและสูญหายไปจากอินเดียในที่สุด แต่ผลจากการที่ส่งสมณะทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช จึงยังผลให้พระพุทธศาสนาไปรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และบริเวณใกล้เคียง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 – 18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจักรวรรดิที่รุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนาและศิลปะอยู่สองแห่ง ความเชื่อสำคัญในยุคนี้เป็นแบบมหายาน จักรวรรดิที่มีอิทธิพลทางใต้บริเวณหมู่เกาะ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางเหนือ คือ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ที่มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์มาก

อาณาจักรศรีวิชัย
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่มี่ปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย[24] นับถือพุทธมหายานหรือวัชรยานภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่าที่ปาเล็มบังมีภิกษุมากกว่า 10,000 รูป ท่านอตีศะเคยมาศึกษาที่นี่ ก่อนเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต ศิลปะทางพุทธศาสนาของศรีวิชัยแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย ส่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ คือ บุโรพุทโธ (สร้างเมื่อราว พ.ศ. 1323) ในเกาะชวา อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงเนื่องจากความขัดแย้งกับราชวงศ์โจฬะในอินเดีย ก่อนจะรับอิทธิพลอารยธรรมอิสลามในพุทธศตวรรษที่ 18

อาณาจักรขอม
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 18 พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดูรุ่งเรืองในอาณาจักรขอม มีการสร้างศาสนสถานมากมายทั้งในไทยและกัมพูชา รวมทั้งนครวัด มหายานรุ่งเรืองที่สุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครธม มหายานเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 16 ไล่เลี่ยกับความเสื่อมของมหายานในอินเดีย คงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม

88
จากภาพ : การแพร่กระจายของศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากนั้นพุทธศาสนา นิกายเถรวาทเข้ามามีอิทธิพลแทนที่ เนื่องจากศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 – 1700 เนื่องมาจากการทำสงครามกับชาวมุสลิมที่เข้ามารุกรานอินเดีย ซึ่งทำให้การนับถือพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมลงด้วย ในช่วงเวลานั้น การค้าขายทางทะเลระหว่างตะวันออกกลางไปยังจีนผ่านทางศรีลังกาเริ่มเฟื่องฟูขึ้น และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการฟื้นฟูนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีที่ศรีลังกาอีกครั้ง นิกายนี้จึงแพร่หลายไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิพม่าครั้งแรกเป็นผู้รับพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์นี้เข้าสู่พม่า มีการสร้างเจดีย์ในเมืองหลวงมากมาย แม้ในกาลต่อมา อำนาจของพม่าเสื่อมถอยลงเพราะถูกมองโกลรุกราน และไทยมีอำนาจขึ้นแทน พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังคงเป็นนิกายหลักในพม่า

พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยที่นครศรีธรรมราชและสุโขทัยเมื่อราว พ.ศ. 1800 และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายจากไทยไปยังลาวและกัมพูชา ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาก่อน ส่วนดินแดนในเขตหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยนับถือนิกายมหายานเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเกือบทั้งหมด

087 088
จากภาพ : การแพร่กระจายของศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Categories: การเผยแผ่ศาสนาพุทธ | ใส่ความเห็น

การเข้ามาของศาสนาอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเข้ามาของศาสนาอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

p2_0

ศาสตราจารย์มัศอูด อัลฮัซซัน ได้กล่าวถึงการเข้ามาของศาสนาอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหนังสือ History of Islam ไว้ดังนี้
หมู่เกาะต่าง ๆ ทางทะเลใต้ ซึ่งรวมกันอยูในอาณาบริเวณที่ เรียกกันว่ า “มาลัยทวีป” มาตั้งแต่ต้น พุทธศตวรรษที่ 12 อันได้แก่ เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเลวี หรือเกาะะเซเลเบส เกาะมะละกา และเกาะนิวกินี ในบริเวณนั้นทั้งหมด เดิมเคยได้รับอารยธรรมแห่งศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ นิกายมหายาน จากอินเดียมาตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 12 จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางศาสนา ได้เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพ่อค้าอาหรับได้นำเรือสินค้าลำแรกของชนชาติอาหรับมาติดต่อทำการค้าขาย และเผยแพร่ศาสนาอิสลามเป็นครั้งแรก ทางเกาะสุมาตราเหนือ เมื่อพ.ศ.1389 โดยแวะจอดเรือขึ้นที่เมืองท่า “อาเจ๊ะ” (บันดาอาเจ๊ะ) แล้วตั้งศูนย์การค้าและศูนย์กลางการแพร่ศาสนาอิสลามขึ้น ณ เกาะสุมาตราเหนือ

โดยมีครูสอนศาสนาอิสลามชื่อ “มาลิก อัลซอและห์” ทำการสอนศาสนาอิสลามให้แก่เจ้าเมือง และครอบครัวของเจ้าเมืองปาลัส จนกระทั่งปรากฏว่าธิดาคนหนึ่งเจ้าของเมืองเปอร์ลัก บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ถึงกับสมรสกับ โต๊ะครูมาลิก อัลซอและห์ ในปีพ.ศ.1840 ปรากฏว่าสุลต่านมุสลิมคนแรกของเมืองปาไซได้วายชนม์ลง และได้มีการฝังศพตามพิธีศาสนาอิสลาม และมีหลักศิลาจารึกด้วยอักษรอาหรับปักไว้บนหลุมศพของท่านสุลต่าน ซึ่งแสดงว่า ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายเข้ามาสู่มลายูในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับว่าเป็นการแพร่ขยายที่รวดเร็วมาก
ซึ่งนักเผยแพร่ศาสนาอิสลามคนสำคัญ คือ อิบนีบาตูเตาะห์ ชาวมอรอคโค เชื้อสายอาหรับ ท่านได้ตั้งศูนย์การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้ราชาซอและห์ ผู้มีอำนาจอิทธิพลนับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้เมื่อราชาซอและห์ เกิดความเสื่อมใสศรัทธาในศาสนาอิสลามแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงช่วยเผยแพร่ศาสนาอิสลามไปในหมู่พสกนิกรของพระองค์ ได้จัดระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ตามพระบัญญัติแห่งพระคัมภีร์อัลกรุอาน อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กลายเป็น รัฐสุลต่านที่เข้มแข็ง พระองค์ได้จัดคณะผู้เผยแพร่ออกไปยังหมู่เกาะต่างๆทางภาคทะเลตะวันออก ของเกาะสุมาตราอีกด้วย ทำให้ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีซึ่งเป็นศาสนาใหม่ได้เข้าไปสู่มาลายู และภาคใต้ของสุวรรณภูมิ ตลอดจนใช้อิทธิพลทางการเมืองทำให้รัฐใกล้เคียงกลายเป็นรัฐอิสลามไปด้วย

การขยายตัวของศาสนาอิสลามในระยะนี้ ได้แผ่ขยาย เข้ามาสู่ตอนใต้ของประเทศไทยและปรากฏหลักฐานว่าเจ้าผู้ครองนครทางภาคใต้ของประเทศไทยในระยะนั้น จนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ปรากฏว่าเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ระยะเวลาเกือบ 700 ปีมาแล้ว ประกอบกับทางกรุงสุโขทัยก็ปรากฏหลักฐานการค้ากับ ประเทศกล่มุอาหรับ มีหลัก านภาษาอิหร่านอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ส่วนประเทศอิหร่าน
ก็ปรากฏมีถ้วยชามสังคโลก สมัยกรุงสุโขทัยปรากฏอยู่มากมาย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวัตถุพยานมากมาย เป็นเครื่องชี้ชัดว่าคำกล่าวของท่านอาจารย์ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า “สำหรับศาสนาอิสลาม หรือคนที่นับถือศาสนาอสิ ลามนั้นมีอยู่ในดินแดนไทยตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพราะว่าศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาถึงอินโดนีเซียและในแหลมมลายูนั้น ก่อนที่คนอีกเผ่าหนึ่งจะได้เคลื่อนมาจากยูนานได้…..” นับว่าในดินแดนสุวรรณภูมินี้ มีคน
พื้นเมืองเดิม ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้อยู่มาก่อนแล้วนั่นเอง

หากดูจากหลักสำคัญ 5 ประการแต่ดั้งเดิมของศาสนาอิสลามแล้ว จะเห็นได้ว่ามีหลักบางอย่างที่ขัดแย้งกับลักษณะของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังนิยมนับถือวิญญาณต่างๆ อยู่ ศาสนาอิสลามจึงไม่น่าที่จะมีอิทธิพลและแพร่หลายในดินแดนนี้ได้ หลักสำคัญของศาสนาอิสลาม 5 ประการอันเป็นการกำหนดหน้าที่ของมุสลิม มีดังนี้คือ
1. ต้องมีความเชื่อว่า ไม่มีพระเจ้าองค์อื่น นอกจากพระอัลเลาะห์ และพระมะหะหมัดคือศาสดาผู้นำคำสั่งสอนของพระอัลเลาะห์มาเผยแพร่แก่มนุษย์

2. มุสลิมต้องสวดอ้อนวอนวันละ 5 ครั้ง คือ ก่อนอาทิตย์ขึ้น ตอนเที่ยง ตอนบ่าย ก่อนอาทิตย์ตกตอนเย็นและตอนกลางคืน ก่อนสวดต้องทำตัวให้บริสุทธิ์ และเวลาสวดต้องหันหน้าไปยังเมืองเมกกะ และสวดเป็นภาษาอาหรับ ในวันศุกร์ควรไปสวดร่วมกับมุสลิมอื่นๆ ที่สุเหร่า ซึ่งตามหลักของศาสนาอิสลามแล้วต่างเท่าเทียมกันหมด และมีความสัมพันธ์ต่อกันประดุจพี่น้อง

3. มุสลิมควรให้ทานแก่คนยากจน

4. มุสลิมควรอดอาหารในเดือนเก้าตามหลักอิสลาม ซึ่งเรียกว่า เดือนรอมดอน มุสลิมจะดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารใดๆ ไม่ได้เลย นับแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก รวมทั้งละเว้นจากการหาความเพลิดเพลินนานาประการด้วย

5. มุสลิมควรเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะ ถ้าหากมีโอกาสที่จะทำได้อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิตจะเห็นได้ว่าหลักสำคัญๆ ของศาสนา เช่น ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์นั้น ขัดต่อความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั่วๆ ไป ที่นิยมบูชาพระเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ทั้งในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ

แต่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเชีย สามารถรับนับถือศาสนาอิสลามได้นั้น ก็เพราะว่าภายหลังที่พระมะหะหมัดเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว ศาสนาอิสลามก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลาเพื่อให้เข้ากับความรู้สึกนึกคิดของคนในชาติต่างๆ ในดินแดนที่ศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้าไป เกิดมีนิกายต่างๆ แตกแยกออกไปหลายนิกาย เพื่อที่ชาวพื้นเมืองนั้นจะได้นำไปผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนได้ ประเพณีความเชื่อถือดั้งเดิมของชนชาติต่างๆ เหล่านี้ จึงถูกนำมาผสมผสานเข้ากับหลักของศาสนาอิสลาม จนในที่สุดก็ยากที่จะแยกแยะออกได้ว่า หลักใด พิธีใด เป็นของศาสนาอิสลาม และหลักใด พิธีใด เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง

อิสลามที่ผ่านการวิวัฒนาการเช่นนี้แล้วนั่นเองที่เป็นอิสลามที่เผยแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองชุมทางทางการค้าต่างๆ อย่างแพร่หลาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในทางศาสนาในการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมานับถือศาสนาอิสลามมีหลักฐานแสดงว่า อิสลามที่แพร่เข้ามายังภูมิภาคส่วนนี้เป็นนิกาย ‘ซูฟี’ ซึ่งเป็นนิกายที่นิยมพิธีต่างๆ ที่ลึกลับและนิยมอภินิหาร ซึ่งเข้ากับความนิยมดั้งเดิมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี อิสลามได้แพร่เข้ามายังอินโดนีเซียก่อน ชาวอินโดนีเซียได้รับเอาหลักการของศาสนาอิสลาม เข้ามาผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของตน เช่นเดียวกันกับที่เคยกระทำเมื่อรับเอาศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาพุทธมาก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้น อินโดนีเซียจึงรับเอาหลักการและการปฏิบัติทางศาสนาอิสลามเข้าไปผสมผสานกับประเพณีความเชื่อแต่เดิมของตน ความเชื่อดั้งเดิมยังมีบทบาทอยู่ประชาชนในแถบหมู่เกาะอินโดนีเซีย และแหลมมลายู รับเอาศาสนาอิสลามโดยมีปัจจัยสำคัญสนับสนุนดังนี้คือ

1. ถึงแม้หลักศาสนาอิสลามประการหนึ่งจะบ่งไว้ว่า มุสลิมทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมดในสายตาของพระเจ้า แต่ในระยะหลังหลักของศาสนาอิสลามมีการเปลี่ยนไปบ้างดังกล่าว จึงเกิดมีความเชื่อเรื่องอำนาจความศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นอำนาจจากพระเจ้าถ่ายทอดมายังบุคคลสำคัญในสังคมเช่นกษัตริย์ เรียกอำนาจเช่นนี้ตามภาษาอาหรับว่า Keramat ความเชื่อเช่นนี้ สอดคล้องกับชนชั้นสูงของชาวอินโดนีเซีย เกี่ยวกับอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู-พุทธ ที่เรียกว่า ‘ศักติ’ ที่ถ่ายทอดมาสู่คนสำคัญคือกษัตริย์ในระบอบเทวราชาและสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของวิญญาณ ตามลัทธิ Animism ที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ของสามัญชนด้วย ชาวอินโดนีเชียจึงรับเอาความเชื่อเรื่อง Keramat จากศานาอิสลามโดยไม่มีอุปสรรคใด

2. ศาสนาอิสลามในระยะหลัง ได้เกิดมีนิกายต่างๆ แตกแขนงออกไป และบางนิกายก็รวมเอาความเชื่อเกี่ยวกับคาถาอาคม อภินิหารต่างๆ ไว้ด้วย ดังเช่นนิกายซูฟี และนิกายซูฟีนี่เองที่แพร่หลายเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็นับถืออภินิหาร คาถาอาคมอยู่แล้ว ชนชั้นผู้ปกครองก็นับถือลัทธิตันตระ ซึ่งเน้นอภินิหาร นิกายซูฟีจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว

3. ศาสนาอิสลามเน้นความเสมอภาคและภราดรภาพในหมู่มุสลิม จึงเข้ากันได้กับประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแม้จะรับเอาศาสนาพราหมณ์ไว้ แต่ก็มิได้รับเอาระบบวรรณะจากพราหมณ์ด้วย ประชาชนในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็นชนชั้นก็จริง แต่ชนชั้นเหล่านี้ก็เป็นการแบ่งตามอำนาจหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ แต่ละชนชั้นมีความสัมพันธ์และมีการเคลื่อนไหวเข้าหากันอย่างสงบ มิใช่อยู่กันคนละส่วนดังเช่นระบบวรรณะในอินเดีย อิสลามจึงแพร่เข้ามาในดินแดนนี้อย่างสงบ ผิดกับในอินเดียที่มีการต่อต้านจนกระทั่งกลายเป็นสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยๆประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่รังเกียจที่จะนับถือศาสนาอิสลาม

4. ในการนับถือศาสนาอิสลามนี้ บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นและข้าราชการในราชสำนักเป็นผู้นับถือก่อน แล้วจึงเผยแพร่ต่อไปยังประชาชน เหตุผลที่เจ้าผู้ครองเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามนั้น นอกจาก เพราะศาสนาอิสลามที่แพร่เข้ามาไม่มีข้อบังคับอันใดที่ขัดต่อความเชื่อถือหรือสถาบันทางสังคมแต่เดิมแล้ว ก็เพราะศาสนาอิสลามยังให้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกด้วย กล่าวคือ เจ้าเมืองและชนชั้นสูงในราชสำนักเป็นผู้ดำเนินการค้าขายอยู่กับพ่อค้าต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อค้ามุสลิมจากอินเดีย จึงเห็นว่าการติดต่อค้าขายสะดวกขึ้น ถ้าหากหันไปนับถือศาสนาอิสลาม เพราะชาวมุสลิมถือว่ามุสลิมด้วยกันนั้นคือพี่น้องกัน ส่วนผลประโยชน์ทางการเมืองก็คือ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้บริเวณเมืองท่าต่างๆ ในสุมาตราและชายฝั่งชวาภาคเหนือ ต้องการปลีกตัวออกจากอำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งขณะนั้นยังมีวัฒนธรรมแบบตันตระอยู่ ถ้าเจ้าเมืองต่างๆ ต่างหันไปนับถือศาสนาอิสลาม จะได้อาศัยศรัทธาในศาสนาสร้างความกลมเกลียวขึ้นในแว่นแคว้นของตน ประชาชนที่เป็นมุสลิมจะต่อต้านอำนาจของมัชปาหิต ซึ่งเป็นพวกนอกศาสนาได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นศาสนาอิสลามจะแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นไป ทั้งนี้โดยอาศัยการเผยแพร่ของบรรดาพ่อค้าในอาณาจักรมะละกา ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในศตวรรษที่ 15 และได้ทำการค้าขายติดต่อกับเมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวาง พ่อค้าเหล่านี้จะนำศาสนาอิสลามไปเผยแพร่ตามเส้นทางการค้าของตนด้วย

merchant

ที่มา : http://www.thaiartcmu.com/e_book/104201_muslim_in_southeast_asia

http://www.chaidentai.net/?name=report&file=readreport&id=24

Categories: การเข้ามาของศาสนาอิสลาม | ใส่ความเห็น

ลักษณะหน้าตา

ชาติพันธุ์มนุษย์ (Race of Mandkind) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตามหลักของวิชาชีววิทยา มนุษย์ทั่วโลกจัดอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน แต่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งความแตกต่างกันระหว่างรูปร่างหน้าตาของมนุษย์แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน มนุษย์เดียวกัน นักมนุษยวิทยาแบ่งมนุษย์ออกเป็น  3 ชาติพันธุ์   (บุญยงค์ เกศเทศ, 2551)   คือ

– คอเคซอยด์  (Caucasoids)

– มองโกลอยด์  (Mongoloids)

– นิกรอยด์  (Negroids)

ซึ่งมองโกลอยด์ (Mongoloids) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้งชาวทิเบต มองโกเลีย จีน รัสเซียบางส่วน อินโดนีเซีย เกาหลี ญึ่ปุ่น พม่า รวมถึงประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะโดยทั่วไปแล้วเป็นชนชาติผิวเหลืองค่อนข้างซีด ผมสีดำเหยียดตรง เส้นผมค่อนข้างหยาบ จำนวนเส้นผมบนศึรษะในเนื้อที่ต่อหน่วยตารางมีน้อยกว่ากลุ่มชาติพันธุ์คอเคซอยด์ ตามตัวมีเส้นขนบ้างเล็กน้อย ใบหน้าแบนกว้าง ศีรษะกลมเล็ก โหนกแก้มสูง จมูกเล็กไม่แบนและไม่โด่ง เบ้าตาตื้น เปลือกตาอูม รูปนัยน์ตาเรียวแคบเพื่อป้องกันแสงแดดและลมที่พัดจัด เปลือกตาชั้นเดียว ดวงตาเป็นสีน้ำตาลหรือดำตาเรียว ริมฝีปากไม่บางและไม่หนาา คางมักยื่นออกมาเล็กน้อย ขากรรไกรไม่เป็นรูปโค้งแต่ยื่นออกมามาก รูปร่างเตี้ยปานกลางถึงสูงปานกลาง

จากหลักชีววิทยาที่เชื่อว่ามนุษย์ทั่วโลกจัดอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน แต่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสถาบัน FaceResearch.org ได้ทำการวิจัย โดยนักจิตวิทยาสองคนจาก University of Aberdeen ประเทศสกอตแลนด์ ที่ใช้ซอฟต์แวร์  (Software)  เพื่อทำการคำนวณหน้าตาโดยเฉลี่ย   จากรูปภาพหลายพันรูป ที่นำภาพมาซ้อนและรวมกันเป็นภาพเดียว จึงได้เป็นใบหน้าแบบประมวลผลโดยเฉลี่ยของชายหญิงแต่ละสัญชาติซึ่งได้นำมาเป็นตัวอย่างเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนามและประเทศไทย

1. ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิ-horz

2. ประเทศพม่า

พม่า-horz

3. ประเทศกัมพูชา

กัม-horz

4. ประเทศเวียดนาม

เวียด-horz

5. ประเทศไทย

ไทย-horz

นอกจากนี้ในมุมมองของอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เรื่องคนไทยมาจากไหน ก็สอดคล้องกับหลักทางชีววิทยา และงานวิจัยนี้เช่นกัน ที่กล่าวว่า “ถ้าจับชายหรือหญิงแต่ละแห่งมายืนเทียบเคียงกัน โดยไม่มีเรื่องของเครื่องแต่งกายและภาษาเข้ามาข้องเกี่ยว แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นคนชาติใดเพราะว่าท่าทางเหมือนกันหมด โครงกระดูกเหมือนกันหมด รูปร่างใกล้เคียงกันหมดตั้งแต่หมู่เกาะไปถึงลังกาอินเดียใต้ทมิฬ” เนื่องจาก “คนไทยไม่ได้มาจากไหน โดยอธิบายว่าไม่มีหรอกภูเขาอัลไต มันมีแต่น้ำแข็ง คนอยู่ไม่ได้ คนไทยอยู่แถวๆ นี้แหละ อยู่ที่ว่าเราเรียก “คนไทย” ตั้งแต่เมื่อไหร่ ดังนั้นทั้งรูปร่างหน้าตาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเหมือนกัน”
(ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. วัฒนธรรมร่วมรากวัฒนธรรมเริ่มแรกในอาเซียน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556. แหล่งสืบค้น http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1756:2013-06-20-02-01-12&catid=200:2013-06-20-02-00-16&Itemid=54)

แต่ถ้าหากใครยังอยากดูใบหน้าแบบประมวลผลโดยเฉลี่ยของชายหญิงแต่ละสัญชาติในแต่ละภูมิภาค สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติม ได้ที่ : http://pantip.com/topic/30789052

Categories: ลักษณะหน้าตา | 2 ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.